หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เป็นสิ่งจำเป็นที่แทบทุกบ้านต้องมีติดครัวไว้หุ่งข้าวประกอบอาหาร แต่เมื่อเราใช้งานมาเป็นระยะเวลานานๆ ก็มักเกิดปัญหา เปิดไม่ติดไฟไม่เข้า หุงข้าวไม่สุก ซึ่งเป็นเรื่องปกติตามอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
บทความในวันนี้จะพาทุกท่าน มาทำการตรวจซ่อมแก้ไขเบื่องต้น ว่าอาการเปิดไม่ติดไฟไม่เข้าจะเกิดจากสาเหตุอะไร
วิดีโอวิธีการซ่อมหม้อหุงข้าว อาการไฟไม่เข้า
วงจรการทำงานหม้อหุงข้าวPHILIPSรุ่นHD3130
ขั้นตอนการตรวจซ่อม
1.ทำการวัดสายไฟพร้อมปลั๊กของหม้อหุงข้าว ว่าขาด หรือชำรุดโดยที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นหรือไม่ โดย
1.1ตั้งมัลติมิเตอร์ที่ ย่านวัดไดโอด เป็นโหมดใช้วัดการเซื่อมต่อ วัดระหว่างหัวปลั๊ก และปลายสาย ทั้ง2เส้น ไลน์(L) และ นิวตรอน(N) ถ้าสายไม่ขาดจะต้องได้ค่า 00 และมีเสียงติ๊ดๆ
1.2เมื่อวัดแล้วได้ค่า00 และมีเสียงติ๊ดๆ ข้อนี้สายไม่ขาด ปกติ
2.ทำการวัดขดลวดความร้อน หรือ ฮีตเตอร์ ของหม้อหุงข้าว โดยตั้งมัลติมิเตอร์ที่ย่านความต้านทาน 200Ω วัดได้ค่า ความต้านทานที่56.8Ω
แสดงว่าขดลวดความร้อนปดติ ไม่ขาด
3.ทำการตรวจสอบเทอร์โมฟิวส์ ที่ต่ออยู่ระหว่าง สายไฟ กับสายฮิตเตอร์ และ บอร์ดภาคจ่ายไฟ เส้นสีแดง และ สีน้ำเงิน สำหรับหมอหุงข้าวPHILIPSรุ่นHD3130 มีเทอร์โมฟิวส์ 2 ตัว
พิกัดขนาด 172°C/19A/250V วัดแล้วพบว่า ตัวที่อยู่สายน้ำเงิน(N)ขาด วัดไม่ขึ้น
4.ทำการเปลี่ยนเทอร์โมฟิวส์เข้าไปแทน ควรใช้ค่าขนาด เท่าของเดิมเท่านั้น
เทอร์โมฟิวส์ตัวใหม่
ควรใช้สลิปหรือหางปลาในการต่อสายไฟ เข้ากับฟิวส์ ห้ามทำการบัดกรีด้วยตะกั่ว เพราะจะทำให้ตะกั่วละลายได้ ขณะใช้งานจะมีอุณหภูมิสูง
5.ตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนทำการแระกอบหม้อหุงข้าว โดยการ ใช้มัลติมิเตอร์ย่านวัดสายไฟ(ย่านไดโอด) วัดว่า ระหว่างปลั๊กไฟ ทั้ง L,N มีส่วนไหน รั่วไปโดนโครงโลหะ หรือส่วนหม้อหุงหรือไม่ วัดแล้วต้องไม่มีความต้านทาน จะไม่ต่อถึงกันเด็ดขาด ป้องกันอันตรายจากไฟดูดไฟช๊อดได้
6.ทำการทดสอบ โดยนำหม้อหุงมาประกอบใช้งานจริง ว่าขดลวดความร้อนทำงานได้หรือไม่
สรุป
อุปกรณ์ที่เสียคือเทอร์โมฟิวส์
ข้อควรระวัง
ถอดปลั๊กไฟทุกครั้งเมื่อทำการตรวจซ่อม เพื่อป้องกันไฟดูด
ผู้ตรวจซ่อมควรมีพื้นฐานด้านไฟฟ้ามาบ้างพอสมควร