ปัจจุบัน ความนิยมในการใช้พลังงานทดแทน เข้ามามีบทบาทมากในการดำรงชีวิต สิ่งที่จะพูดถึงในบทความนี้คือ ระบบโซล่าร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองตามบ้านพักอาศัยเพราะนอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจในการเลือกซื้อแผงโซล่าร์เซลล์ อาจยังไม่รู้ข้อมูลว่าควรจะเลือกซื้อแผงแบบไหนเพราะตามท้องตลาด มีแผงโซล่าร์เซลล์ให้เลือกอยู่มากมายหลายชนิด
แผงโซล่าร์เซลล์(Photovoltaics) คือออะไร
คือการนำโซล่าร์เซลล์หลายๆเซลล์มาประกอบกันเป็นแผงขนาดใหญ่เพื่อที่จะสามารถผลิต และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น ไฟฟ้าที่จ่ายออกมาจะเป็นไฟฟ้ากระแสตรงDC ( Direct current) ถ้าต้องการจะนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสสลับAC(Alternating current) เราจำเป็นต้องแปลงไฟฟ้าDCเป็นไฟฟ้าAC โดยต่อเข้ากับอินเวอร์เตอร์(Inverter
แผงโซล่าร์เซลล์ในปัจจุบัน 90% จะทำมาจากผลึกซิลิคอน(Crystalicon) ถ้าซิลิคอนมีความบริสุทธิ์มากๆโมเลกุลในการจัดเรียงจะเป็นระเบียบ ทำให้ประสิทธิภาพเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ก็จะมากขึ้นตามคุณภาพของสารซิลิคอน แต่ก็ควรคำนึงถึงองค์ประกอบอย่างอื่นในการพิจารณาอีเพิ่มด้วย เช่น คุณภาพความหน้าเชื่อถือของตัวสินค้า ความคุ้มค่าในการลงทุน และขนาดพื้นที่ในการติดตั้งด้วย
แผงโซล่าร์เซลล์ที่ได้รับความนิยมมีอยู่ 3 ชนิดคือ
1.ชนิดโมโนคริสตอลไลน์(Mono Crystalline sillicon solar Cell)
ผลิตจากซิลิคอนเชิงเดี่ยว ที่มีความบริสุทธิ์สูง ข้อสังเกตุคือ ลักษณะของเซลล์จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ลบมุมทั้งสี่ออก แล้วนำมาเรียงต่อๆกัน เพื่อใช้ให้เกิดประสิทธิภาพการใช้งานที่สูงที่สุด สีเข้มสวยงาม ผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงกว่าชนิดอื่น
2.ชนิด โพลีคริสตอลไลน์(Poly Crystalline Silicon Solar Cell)
ผลิตจากผลึกซิลิคอนเหมือน โมโนคริสตอลไลน์ แต่ขั้นตอนการผลิตจะแตกต่าง คือนำซิลิคอนเหลวที่เทใส่พิมพ์สี่เหลี่ยม จากนั้นตัดแบ่งให้เป็นแผ่นบางๆ ทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมต่อๆกัน ไม่มีการตัดมุมบริเวณขอบของสี่เหลี่ยม จะใช้ชิลิคอนในการผลิตน้อยกว่าแบบโมโนคริสตอลไลน์ ลักษณะเป็นแผงสีน้ำเงินอ่อนๆ ประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดี แต่ยังน้อยกว่าแบบโมโนคริสตอลไลน์(กรณีใช้งานในอุณหภูมิที่สูง แบบโพลีคริสตอลไลน์จะผลิตกระไสไฟฟ้าได้ดีกว่า แบบโมโนคริสตอลไลน์เล็กน้อย) มีราคาที่ถูกกว่าแบบโมโนคริสตอลไลน์ อายุการใช้งาน ประมาณ20-25ปี
3.ชนิดโซล่าร์เซลล์แบบฟิล์มบาง หรือ อมอร์ฟัสโซล่าร์เซล์(Amorphous Solar Call)เป็นโซล่าร์เซลล์ชนิดฟิล์มบาง(Thin Film solar Cell) ขั้นตอนในการผลิตเกิดจากการนำสารที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ามาฉาบเป็นชั้นฟิล์มบางๆซ้อนกันหลายๆชั้นแผ่งโซล่าร์ลเซลล์ชนิดนี้จะมีราคาถูกกว่ากว่าแผงโซล่าร์เซลล์ชนิดอื่นๆ แต่ว่าการผลิตกระแสไฟฟ้า และอายุการใช้งาน จะน้อยกว่าแผงชนิดอื่นด้วย
การเลือกซื้อแผงโซล่าร์เซลล์ให้เหมาะกับการใช้งาน
การใช้งานแผงโซล่าร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้านพักอาศัย จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดที่เหมาะสมคือ แบบโมโนคริสตอลไลน์ และแบบโพลีคริสตอลไลน์ ทั้ง 2 ชนิดคุณภาพจะไม่แตกต่างกันมาก เมื่อเทียบกับกำลังวัตต์ที่เท่ากัน แต่แผงโมโนคริสตอลไลน์จะมีขาดที่เล็กกว่า จึงเหมาะกับการติดตั้งในพื้นที่ที่จำกัด อย่างเช่นหลังคาบ้าน แต่ถ้าหลังคามีพื้นที่ให้ติดตั้งขนาดกว้างใหญ่ เราอาจเลือกใช้แผงแบบ โพลีคริสตอลไลน์แทนเผื่อประหยัดตุ้นทุนในการติดตั้ง จะลดต้นได้ประมาณ 10%
การนำโซลาร์เซลล์ ไปใช้งานโดยตรงกับปั้มน้ำโซล่าร์เซลล์ ควรเลือกแผงที่มีกำลังวัตต์มาก กว่าเท่าตัว เพราะช่วงแรกในการสตาร์ทปั้มน้ำ จะใช้กระแสไฟฟ้าที่มากพอสมควร ส่วนท่านที่ต้องการใช้งานร่วมกับแบตเตอรี่ ควรเลือกแผงที่มีกำลังวัตต์ มากกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้อย่างน้อย 20% เพื่อถนอมแบตเตอรี่ให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น
กำลังวัตต์ของแผงโซล่าร์เซลล์ และการใช้งาน การเลือกแผงโซล่าร์เซลล์มาใช้งานนั้น เราต้องคำนึงถึงความต้องการปริมาณการใช้ไฟฟ้าก่อนว่า ต้องการใช้มากน้อยเพียงใด และ เราต้องคำนึงถึง กำลังวัตต์ของอุปกรณ์กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ก่อนว่ารวมกันแล้วใช้ กำลังไฟฟ้าอยู่ที่กี่วัตต์ ในระบบโซล่าของเรา
ควรเลือกกำลังวัตต์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ในรูปแบบต่างๆเช่น แผงโซล่าร์ขนาด 10 – 20 วัตต์ จะเหมาะกับการนำไปใช้เป็นไฟฟ้าส่องสว่างภายในบ้าน หรือตามทางเดิน หรือาจจะใช้ในสวน และแผงโซล่าร์ขนาด 225 วัตต์ขึ้นไป จะเหมาะกับการใช้กับปั้มโซล่าร์เซลล์เท่านั้น
การรับประกันหลังการขาย และ บริการ ควรเลือกซื้อแผงโซล่า กับบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทาง เป็นที่ยอมรับและหน้าเชือถือ เช่น รับประกันแผงโซล่าร์เซลล์ 25 ปี และอื่น
จากข้อมูลเกี่ยวกับแผงโซล่าร์เซลล์ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น คงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจในการเลือกซื้อแผงโซล่าร์เซลล์มาใช้งานได้ เหมาะสมกับการใช้งาน และได้ประโยชน์สูงสุด ประหยัดต้นทุนในการติดตั้ง ให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด