ไดโอด(diode) คืออะไร การวัด และ การใช้งาน ง่ายๆ

ไดโอดคืออะไร การวัดและการใช้งาน

เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เครื่องชาร์จแบตเตอร์รี่ งานระบบโซล่าร์เซลล์ และอื่นๆ ส่วนใหญ่ล้วนมีภาคจ่ายไฟเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ อุปกรณ์ที่มีบทบาทเป็นอย่างมากในวงจรภาคจ่ายไฟ นั่นก็คือ ไดโอด บทความนี้จะข้อนำท่านผู้อ่านมาทำความรู้จัก หน้าที่การทำงาน การวัดไดโอด ว่าดีหรือเสียอย่างไร ในแบบใช้งานจริงไม่ซับซ้อน อธิบายในแบบ jekdiy ทำได้เองที่บ้าน

วิดีโอดแนะนำการทำงาน การวัดตรวจสอบไดโอด

วิดีโอดแนะนำการทำงาน การวัดตรวจสอบไดโอด
โครงสร้างและ สัญญลักษณ์ของไดโอด

ไดโอด (diode) คืออะไร

ไดโอดเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำกระแสไฟฟไฟฟ้าได้ เมื่อเราจ่ายแรงดันในรูปแแบบ ไบแอสตรงคือ จ่ายแรงดันบวกเข้าที่ขา A(แอโนด) จ่ายแรงดันลบเข้าที่ขา K(แคโทด) ไดโอดจะนำกระแสเมื่อเกิดแรงดันตกคร่อมตัวมัน ประมาณ 0.2 – 0.3 โวลท์ สำไดโอดชนิดแบบเยอรมันเนียม และ 0.6 – 0.7โวลท์ สำหรับไดโอดชนิดแบบซิลิกอน

การจ่ายแรงดันไบแอสตรงให้ไดโอด

ไดโอดมักถูกนำไปใช้ในวงจรภาคจ่ายไฟ คือวงจรเร็กติไฟร์ (วงจรแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นไฟฟ้ากระแสตรง) ไดโอดที่ใช้ในวงจรเร็กติไฟร์นั้นจะต้องมีอัตราการทนแรงดัน และอัตราการทนกระแสที่ค่อนข้างสูง คือ ที่มีขนาดตั้งแต่ 50โวลท์ /1 แอมป์ ไปจนถึงหลายร้อยโวลท์ หลายสิบแอมป์ และมีขนาดค่อนข้างใหญ่ไปตามอัตราการทน กระแสและแรงดัน

วงจรบริจด์เร็กติไฟร์

วัดไดโอดด้วยมัลติมิเตอร์เข็ม

ตั้งย่านมิเตอร์ที่ คูณ10 ,คูณ100 หรือ คูณ1K ก็ได้ สายดำเป็นไฟบวก สายแดงเป็นไฟลบ

1.วัดไดโอดปกติ วัด2 ครั้งสลับกัน

  1. 1 วัดแบบไบแอสตรง ตั้งมิเตอร์ย่านคูณสิบโอห์ม นำสายมิเตอร์สายดำแตะที่ ขาA สายสีแดงแตะที่ขา K ค่าที่อ่านได้ ประมาณ 7 โอห์ม แสดงว่าปกติ
ไดโอด ไบแอสตรง ถูกขั้ว ปกติวัดได้ 7โอห์ม

1.2 วัดแบบไบแอสกลับ สายมิเตอร์สีแดงแตะที่ขา A สายมิเตอร์สีดำแตะที่ขา K ค่าความต้านทานที่อ่านได้ เข็มมิเตอร์ไม่กระดิ่กขึ้น ค่าเป็นอินฟินิตี้ แสดงว่าปกติดี

ไดโอดไบแอสกลับ วัดกลับขั้ว ค่าความต้านทานเข็มไม่ขึ่น(ค่าเป็นอินฟินิตี้)

2. วัดไดโอด ช็อต วัด2 ครั้งสลับกัน

2.1 วัดแบบไบแอสตรง ตั้งมิเตอร์ย่านคูณสิบโอห์ม นำสายมิเตอร์สายดำแตะที่ขาA สายสีแดงแตะที่ขา K ค่าที่อ่านได้ ประมาณ 0 โอห์ม ค่าต่ำมากแสดงว่าช็อต

วัดแบบไบแอสตรง ได้ค่า 0 โอห์ม ไดโอด ช็อต

2.2 วัดแบบไบแอสกลับ ตั้งมิเตอร์ย่านคูณสิบโอห์ม สายวัดสีแดงแตะที่ขาA สายวัดสีดำแตะที่ขาK ค่าความต้านทานที่อ่านได้ 0 โอห์มค่าน้อยมากแสดงว่าช็อต

วัดแบบไบแอสกลับ ได้ค่า 0 โอห์ม ไดโอดช๊อต

3. วัดไดโอด ขาด วัด2 ครั้งสลับกัน

1 วัดแบบไบแอสตรง ตั้งมิเตอร์ย่านคูณสิบโอห์ม นำสายมิเตอร์สายดำแตะที่ ขาA สายสีแดงแตะที่ขา K ค่าความต้านทานที่อ่านได้ เข็มมิเตอร์ไม่กระดิ่กขึ้น ค่าเป็นอินฟินิตี้ แสดงว่า ไดโอดขาด

วัดไบแอสตรง ได้ค่า อินฟินิตี่ เข็มไม่ขึ้น ไดโอดขาด

3.2 วัดแบบไบแอสกลับ ตั้งมิเตอร์ย่านคูณสิบโอห์ม สายวัดสีแดงแตะที่ขาA สายวัดสีดำแตะที่ขาK ค่าความต้านทานที่อ่านได้ 0 เป็นอินฟินิตี้ เข็มมิเตอร์ไม่กระดิ่ก แสดงว่าไดโอดขาด

วัดแบบไบแอสกลับ ได้ค่า อินฟินิตี้ ไดโอดขาด

สำหรับบทความ ไดโอดคืออะไร การวัด และการใช้งาน ที่ผ่านมา อาจไม่ได้เน้นเรื่องทฤษฎี มากนัก แต่จะให้ความรู้ในด้านหลักการทำงานของไดโอด การวัดว่าไดโอด ดีเสีย เป็นอย่างไร เป็นข้อมูลเบื่้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจศึกษางานด้าน DIY อิเล็กทรอนิกส์ ขอให้สนุกกับงานDIY นะครับ

เรื่อง/ภาพ : Admin jekdiy

About JekDIY

Check Also

ไฟ led ไฟเก๋ง ไฟเพดานรถยนต์

วิธีเปลี่ยนไฟเพดานรถยนต์LED 12V

ไฟเพดานรถยนต์ปกติจะเป็นหลอดไส้12Vธรรมดา ไม่สามารถเป็นสีได้ ในคลิปนี้แอดมินจะมาทำการเปลี่ยนไฟเพดานในห้องโดยสารของรถยนต์ เป็นไฟแบบLED 12V และยังสามารถเปลี่ยนสีได้ด้วย เป็นการสั่งงานด้วยรีโมทคอนโทรล ไฟ led ไฟเก๋ง ไฟเพดานรถยนต์ เปลี่ยนสีได้ 16 สี พร้อมรีโมท …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *