LED คืออะไร หลักการใช้งานและการต่อใช้งาน วิธีคำนวนหาค่าR

led คืออะไรและการใช้งาน

LED ย่อมาจาก Light emitting diode เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในหมวดหมู่ไดโอด หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไดโอดเปล่งแสง ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมนำมาใช้ในวงการไฟฟ้า และอุปกรณ์เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์กันอย่างแพร่หลาย

LEDแบบต่างๆ และสัญลักษณ์ของแอลอีดี

สัญญลักษณ์ของLED

(ขา ANADE หรือ A ขั้วไฟบวก) (ขา CATHODE หรือ K ขั้วไฟ ลบ)

  1. LEDชนิดทั่วไปขนาด 5mm แอลอีดีชนิดนี้ นิยมใช้เป็นไฟแสดงสถานะในเครื่องใชัไฟฟ้าต่างๆเพราะมีคุณสมบัติในการเปลงแสงมีขนาดเล็กและกินกระไฟฟ้าน้อย

2.LEDพลังานสูง(High Power LED) ปัจจุบันแอลอีดีชนิดนี้ ได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก ลักษณะจะเป็นแผ่นชิปและมีขนาดที่แตกต่างกันไปตามลักษณะใช้งาน ถูกนำมาผลิตเป็น หลอดไฟLED โคมไฟLED ทั้งยังนำมาใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ที่เรียกว่า หลอดbacklight

การต่อใช้งานLED

การต่อใช้งานนั้น จะต่อเป็นแบบไบแอสตรง จึงจะทำให้แอลอีดีทำงานได้ และเปล่งแสงออกมา ดังรูป คือทำการป้อนแรงดันไฟบวกเข้าขา A ป้อนไฟลบเข้า ขาK (เราสามารถนำเอาแหล่งจ่ายไฟ หรือถ่านไฟฉายขนาด 3Vต่อทดสอบได้ )ดังรูป เป็นการไบแอสตรง

วงจรไบแอสตรงแอลอีดี

สเป็คของLED และ เทคนิคต่อใช้งานจริงร่วมกับ R(Resistor)

อุปกรณ์แอลอีดี ดังที่กล่าวมาข้างต้น มีเทคนิคการต่อใช้งานได้ โดยที่ไม่ต้องเป็นช่างก็ทำได้เพียงแค่ให้เรารู้หลักในการต่อเท่านั้น และรู้ขนาดสเป็คของแอลอีดี ว่าใช้ไฟฟ้าแรงดันที่กี่โวลท์ทนกระแสกี่แอมป์ เราก็สามารถที่จะต่อใช้งานแอลอีดีได้อย่างถูกต้อง และการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพ พร้อมอายุการใช้งานที่ยาวนาน ได้ด้วยตัวของเราเอง

ดังนั้นเมื่อเราต้องการนำแอลอีดีมาต่อใช้งานกับแหล่งจ่ายไฟ เราจึงจำเป็นจะต้องรู้จักวิธีการคำนวณค่าการใช้งาน ของแอลอีดีให้ถูกต้อง ดังนั้นR หรือ Resistorจึงเข้ามาทำหน้าที่แบ่งแรงดันตกคร่อมในวงจร เพื่อป้องกันการเสียหายของแอลอีดีได้

R หรือ ค่าความต้านทานหาได้จาก

กฎของโอห์ม (Ohm’s Low)
การคำนวณหาค่าความต้านทานตกคร่อมในวงจรLED
  • สเป็คทั่วไปของแอลอีดี ดูได้จากร้านค่าผู้จำหน่ายจะเขียนแนะนำบอกเอาไว้ ดังนี้
  • แรงดัน 3V ถึง 3.4V (โวลท์)
  • กระแส 10 ถึง 20mA (มิลลิแอมป์ ) **วิธีแปลงหน่วย มิลลิแอมป์(mA) เป็นแอมป์ (A) คือ นำตัวเลขค่าmA หารด้วย 1000 ดังนี้ 20 หารด้วย 1000 เท่ากับ 0.02A

ตัวอย่างการต่อLED

  • การต่อLEDจำนวน 1 ตัว โดยเรามีแหล่งจ่ายไฟ 12V
  • (แรงดันLED 3V, กระส LED 20mA แปลงเป็นหน่วยแอมป์ (A)จะได้ 0.02A) ดังรูป
หาค่าR ในวงจร LED 1 ตัว

จากวงจรต่อ LED จำนวน 1 ตัว คำนวณได้ค่า R ค่า 600 โอห์ม ถ้าในกรณีหาค่าตามท้องตลาดไม่ได้ก็ให้ใช้ค่าที่ใกล้เคียงแทนได้

2.การต่อ LED จำ 3 ตัวหรือมากกว่านี้ก็จะใช้หลักการเดียวกัน และควรใช้แหล่งจ่ายไฟที่เหมาะสมกับจำนวนของ LED ที่ใช้ต่อ ดังรูป

การกาค่าR ในวงจรLED จำนวน 3 ตัว

วิธีการคือ นำแรงดันโวลท์ของLED ทั้ง 3 ตัวมาบวกกัน แล้วนำไปลบกับแหล่งจ่ายไฟ ได้ค่าแล้ว หารด้วยกระแส ก็จะได้ค่า R ค่าตัวต้านทาน ดังรูป

การหาค่าความต้านทานในวงจรLED

การใช้งานและการต่อLED ถ้าเรารู้จักหลักการต่อที่ถูกต้อง ก็จะทำให้งานDIY ของเพื่อนๆสำเร็จตามความตั้งใจขอให้สนุกกับงานDIY นะครับ

วิดีโอแนะนำLEDพื้นฐานใน1นาที

แอลอีดีคืออะไรใน1นาที

เรื่อง / ภาพ โดย Admin jekdiy

About JekDIY

Check Also

วิธีประกอบชุดคิทโมดูลไฟถนนโซล่าเซลล์เปิดปิดอัตโนมัติสำหรับมือใหม่diy

วิธีประกอบชุดคิทโมดูลไฟถนนโซล่าเซลล์เปิดปิดอัตโนมัติสำหรับมือใหม่diy

วิดีโอวิธีประกอบชุดคิทโมดูลไฟถนนโซล่าเซลล์ วิธีประกอบชุดคิทโมดูลไฟถนนโซล่าเซลล์เปิดปิดอัตโนมัติสำหรับมือใหม่diy

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *