
เพาเวอร์แบงค์ หรือเครื่องสำรองไฟ เป็นอุปกรณ์ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะใช้ร่วมกับโทรศัพท์มือถือ สมาทร์โฟน แท็บเลต ลำโพงบลูทูธ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกหลายๆอย่าง
วิดีโอสอนการDiy power bank
ประโยชน์ของการdiy power bank
1.นำอุปกรณ์ power bank เก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วเอากลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์
2.ใช้ของเหลือใช้ภายในบ้านในครัวเรือน มาทำประโยชน์ คือ นำขวดแชมพูเก่า ที่ทิ้งแล้วมาดัดแปลงเป็นกล่องหรือ หรือbodyประกอบเป็น power bank diy
3.แนะนำทำความรู้จักแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน(Lithium-Ion Battery) หรือตัวย่อคือ “Li-Ion “เบอร์18650 และความรู้เกี่ยวกับแบตชนิดนี้
เนื้อหาสำคัญ
1.ในเพาเวอร์แบงค์เก่าจะมีโมดูลควบคุมการชาร์จอยู่ซึ่งส่วนมากจะไม่ค่อยเสียหาย หน้าที่ของโมดูลชาร์จ จะควบคุมการชาร์จแบต จากอุปกรณ์ชาร์จจากภายนอก เมื่อชาร์จถึง 4.1โวลท์ วงจรจะหยุดการชาร์จ และLEDแสดงสถานะชาร์จจะหยุดกระพริบ แบะติดหมอทั้ง4ตัว เราสามารถนำมาใช้ร่วมกับแบตก้อนใหม่ได้นั้นก็คือ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน 3.7V

2.แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium-Ion Battery) หรือตัวย่อคือ “Li-Ion “เบอร์18650 แบตเบอร์นี้ จะมีขาด เส้นผ่าศูนย์กลาง18มิลลิเมตร ความยาวขนาด 65 มิลลิเมตร แรงดันที่ 3.7โวลท์ ความจุตามมาตราฐานทรงกระบอกนี้ จะไม่เกิน3500mAh(มิลลิแอมป์ชั่วโมง) ส่วนใหญ่ที่เขียนไว้เยอะกว่านี้ถ้าวัดการใช้งานจริงมักจะไม่ถึง ถ้าความจุสูงก็จะเป็นเบอร์ใหญ่กว่านี้

สำหรับคุณสมบัติหลักของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน คือ การจ่ายไฟที่แรง และคงที่อยู่ตลอดเวลา แม้ว่าไฟในแบตเตอรี่ใกล้จะหมด แถมยังมีระยะเวลาการชาร์จไฟจนเต็มความจุที่เร็วกว่าแบตเตอรี่แบบอื่นๆ และยังใช้ได้นานกว่าอีกด้วยเช่นกัน ส่วนอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ในระยะที่เต็มประสิทธิภาพ จะอยู่ระหว่าง 1.0-1.5 ปี ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งานว่ามากหรือน้อย รวมไปถึงการดูแลรักษา และหลังจากนั้นก็จะเสื่อมลง และถึงแม้ว่าเราจะเก็บแบตเตอรี่ชนิดนี้เอาไว้เฉยๆ โดยไม่ได้ใช้งานอะไรเลย แบตเตอรี่ก็สามารถเสื่อมประสิทธิภาพลงได้อยู่ดี (ดังนั้นไม่ควรซื้อเก็บสำรองเอาไว้
3.การเก็บรักษาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium-Ion Battery)
3.1เก็บแบตตเตอรี่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในอุณหภูมิความชื้นที่เหมาะสม ไม่ควรชาร์จภายใต้อุณหภูมิที่สูง จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว
3.2ควรหมั่นชาร์จไฟเลี้ยงแบตเตอรี่อยู่บ่อยๆ ไม่ควรปล่อยให้ไฟหมด หรือใกล้หมด เพราะการชาร์จไฟบ่อยๆ ไม่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่
-ควรใช้อุปกรณ์ชาร์จที่ได้มาตราฐาน จ่ายไฟเข้านิ่งคงที่ ไม่ควรทำการชาร์จแบตเตอรี่ในรถยนต์บ่อยๆ เพราะไฟในรถจะไม่ค่อยนิ่ง และอาจทำให้แบตเสื่อมเร็วขึ้น
ข้อควรระวังในโปรเจ็คนี้
1.การประกอบแบตเตอรี่ ห้ามใส่แบตเตอรี่กลับขั้ว ใส่ให้ตรงขั้ว บวกเข้าบวก ลบเข้าลบ
2.แบตเตอรี่เก่าที่เสื่อมสภาพแล้ว ควรทิ้งที่ถังขยะอันตราย ไม่ควรทิ้งร่วมกับขยะทั่วไป
เรื่อง/ภาพ : Admin jek diy