เทคนิคซ่อมเพาเวอร์แอมป์รถยนต์คลาสดี และ หลักการทำงาน

ซ่อมเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ คลาสดี class D

เครื่องเสียงรถยนต์ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายสำหรับผู้ที่มีดนตรีในหัวใจทุกๆท่าน แต่เมื่อเราใช้เครื่องเสียงรถยนต์เป็นเวลานาน หรือเกิดเหตุขัดข้องเกี่ยวกับระบบไฟ มีไฟกระชาก ไฟเกิน อาจส่งผลทำให้ภาคขายเสียงของเพาเวอร์แอมรถยนต์เสียหายได้ บทความนี้ จะสาธิตวิธีการซ่อมเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ยี่ห้อVT Power ซึ่งเป็นเพาเวอร์รถยนต์ใช้ภาคขยายคลาส ดี poweramp class D และแนะนำหลักการทำงานของเพาเวอร์แอมป์

ดูวิดีโอเทคนิคซ่อมและการทำงานเพาเวอร์แอมป์รถยนต์คลาสดี

เพาเวอร์แอมป์จะประกอบด้วย / ส่วนหลักๆ คือ ภาคจ่ายไฟ และ ภาคขยายเสียง

การทำงานของภาคจ่ายไฟ switching Power Supply ของเพาเวอร์แอมป์

บล็อกไดอะแกรม สวิตชิ่งเพาเวอร์ซับพลายเพาเวอร์แอมป์รถยนต์
บล็อกไดอะแกรม สวิตชิ่งเพาเวอร์ซับพลายเพาเวอร์แอมป์รถยนต์
  1. เมื่อไฟ 12V จากแบตเตอรรี่ และไฟรีโมท จากเครื่องเล่น เข้าเครื่องกจะเข้าสู่วงจร ฟิลเตอร์ Filter ทำหน้าที่กรองสัญญาณรบกวนจากไฟ12VDC ที่มาจากแบตเตอรี่ให้เรียบ ด้วยคาปาซิเตอร์
  2. วงจรสวิตชิ่งจะทำหน้าที่แปลงไฟ กระแสตรงDC เป็นไฟกระแสสลับ AC(Pulse)ความถี่สูง วงจรนี้จะประกอบไปด้วย วงจรควบคุมความถี่สวิตซ์ที่จ่ายพัลส์(Control pulse switching) ให้กับเพาเวอร์มอสเฟต เบอร์IRF3205 ทำหน้าที่สวิตซ์ไฟร่วมกับหม้อแปลงทำให้เกิดไฟออกที่ขดลวดด้านออกเข้าสู่วงจรเรกติไฟเออร์ต่อไป
  3. วงจรเร็กติไฟเออร์ ทำหน้าที่แปลงไฟกระแสสลับAC(Pulse) เป็นไฟกระแสตรง(DC) ซึ่งตอนนี้ไฟที่ออกมาจะเป็นไฟ บวก ลบ เพื่อส่งไปเลี้ยงวงจรภาคขาย วงจรนี้จะใช้ไดโอดเป็นตัวทำหน้าที่เร็กติไฟเออร์ ส่งต่อไปวงจรฟิลเตอร์
  4. วงจรฟิลเตอร์ ทำหน้าที่กรองไฟกระแสตรง(DC)ให้เรียบขึ้น ตอนนี้จะได้ไฟบวก ไฟลบ ไปเลี้ยงวงจรภาคขยายเสียงคลาสดี ต่อไป

การทำงานของภาคขยายเสียงคลาสดี

บล็อกไดอะแกรมการทำงานภาคขยายเสียงคลาสดี
บล็อกไดอะแกรมการทำงานภาคขยายเสียงคลาสดี
  1. สัญญาณเสียงอินพุตจะเข้าสู่วงจร ปรีแอมป์ปรับเสียง และเข้าสู่วงจรไอซีError Amp ก่อนจะเข้าสู่ ไอซีComparator ทำหน้าที่ผสมสัญญาณเสียงเข้า กับ สัญาณฟันเลื่อย(Triangle Wave)
  2. วงจรผลิตสัญญาณฟันเลื่อย(Triangle Wave Generator)ทำหน้าที่ผลิตสัญญาณฟันเลื่อยเพื่อที่จะผสมกับสัญญาณเสียง
  3. วงจรComparator เป็นไอซี พัลส์วิดท์มอดูเลชัน(Pulse Width Modulation) ทำหน้าที่ผสมสัญญาณเสียงเข้ากับสัญญาณฟันเลื่อยจะได้เป็นสัญญาณ พัลส์วิดท์มอดูเลชัน(Pulse Width Modulation) PWM sigal
  4. วงจร Driver Level Shift ทำหน้าที่แยกเฟส lo side และ hi side ไปป้อนให้กับเพาเวอร์มอสเฟตภาคขยาย(Power mosfet) ใช้เบอร์IRF640N
  5. วงรภาคขยายทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ออกมาจากวงจรDriver Level Shiftให้แรงขึ้น
  6. สัญญาณจากภาคขยาย ส่งเข้าวงจร LowPass Filter ทำหน้าที่กรองความถี่ต่ำผ่าน ซึ่งเป็นความถี่เสี่ยงผ่านไปได้ ออกสู่ลำโพง

จากบทความนี้เป็นการอธิบายจากการประสบการณ์ทำงานซ่อม อาจไม่เป็นทฤษฎีวิชาการมากเป็นความรู้พื้นฐาน หวังว่า คงพอเป็นประโยชน์บ้างสำหรับนัก DIYมือใหม่และผู้ที่สนใจ

เรื่อง / ภาพ : Admin jekdiy

About JekDIY

Check Also

เพิ่มบลูทูธให้เครื่องเสียงเก่าSonyให้ฟังเพลงแบบไร้สายBluetooth5.0

เพิ่มบลูทูธให้เครื่องเสียงเก่าSonyให้ฟังเพลงแบบไร้สายBluetooth5.0

วิดีโอเพิ่มบลูทูธให้เครื่องเสียงเก่าSonyให้ฟังเพลงแบบไร้สายBluetooth5.0 เพิ่มบลูทูธให้เครื่องเสียงเก่าSonyให้ฟังเพลงแบบไร้สายBluetooth5.0

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *